The ASMS International Science Fair 2024

ครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ The ASMS International Science Fair 2024 ณ Australian Science & Mathematics School เมือง Adelaide เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 2 – 6 กันยายน พ.ศ. 2567

Australian Science & Mathematics School เครือรัฐออสเตรเลีย ได้จัดงาน The ASMS International Science Fair 2024 ขึ้น ภายใต้ธีมงาน “Engineering a Future” โดยเชิญเครือข่ายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ International Science Schools Network (ISSN) ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนชั้นนำที่มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากสหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และประเทศไทย รวมถึงโรงเรียนในเครือรัฐออสเตรเลียเข้าร่วมงานด้วย

กิจกรรมหลักภายในงาน ประกอบด้วย

  • กิจกรรม Challenge Based Learning

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับครูและเพื่อนต่างชาติ โดยผู้จัดงานได้กำหนดหัวข้อและเปิดโอกาสให้นักเรียนเลือกตามความสนใจ ในการเข้าร่วมกิจกรรมตลอด 5 วันของการจัดงาน ดังนี้

  • Indigenous Australian Perspectives, Medical and Health
  • Space, Agriculture, Atmospheric Science
  • Artificial Intelligence, Resources and Cyber Security
  • Resources
  • Future Material

นักเรียนจะมีการแบ่งเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 2-3 คน เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นและเกิดการตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาในสถานการณ์ของโลกในปัจจุบัน มองเห็นแนวทางในการนำมาศึกษาค้นคว้าต่อยอดเพื่อสร้างแนวคิดของงานวิจัยหรือนวัตกรรมในการแก้ไขปัญหา  โดยมีครูจาก Australian Science & Mathematics School เป็นผู้นำกิจกรรมในแต่ละหัวข้อ

กิจกรรมในช่วง 4 วันแรก นักเรียนแต่ละกลุ่มย่อยจะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากบทความวิชาการหรืองานวิจัย พร้อมทั้งเดินทางไปทัศนศึกษาในเส้นทางที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่เลือก และกลับมาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันในรูปแบบของการโต้วาที และการเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

จากนั้น ในวันสุดท้ายของการจัดงาน นักเรียนทั้งหมดได้มานำเสนอและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างหัวข้อทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในรูปแบบของโปสเตอร์กับช่วง Challenge Based Learning Solution Exposition

  • กิจกรรมทัศนศึกษา

นักเรียนสามารถเลือกศึกษานอกสถานที่ ที่สอดคล้องกับหัวข้อกิจกรรม Challenge Based Learning ได้ เพื่อสนับสนุนแนวคิดในการศึกษาค้นคว้า เช่น Warriparinga Wetlands, Brinkly Waste Centre, Tonsley Innovation District, Parafield Airport & Aviation Museum Adelaide Show, Ngaut Ngaut Conservation Park, Cleland Wildlife Park เป็นต้น ส่วนครูที่เข้าร่วมงานสามารถเลือกทัศนศึกษาได้ตามความสนใจ

  • กิจกรรมการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์

การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์มีทั้งในรูปแบบการบรรยายและโปสเตอร์ โดยในช่วงการนำเสนอแบบโปสเตอร์ ผู้จัดงานได้เชิญนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนในในเครือรัฐออสเตรเลียเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ให้กับผู้เข้าร่วมงานและผู้สนใจทั่วไปด้วย

  • กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครู

ครูผู้ร่วมงานทุกคนได้เข้าร่วมกิจกรรม Teacher Professional Learning Program ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นด้วยมาตรฐานการอบรมและพัฒนาครูของออสเตรเลีย ตามกรอบของ Australian Institute for Teaching and School Leadership (AITSL) โดยกิจกรรมมีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การดูแลนักเรียน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างโรงเรียนในอนาคต

งานในปีนี้ ดร.ธัญนันท์ สมนาม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ ได้นำนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน  5 คน เข้าร่วมนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์  ทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ ดังนี้

การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ในรูปแบบบรรยาย ได้แก่

โครงงานเรื่อง “The developing of meat substitutes from Pleurotus pulmonarius mycelium” นำเสนอโดย นางสาวชณาภัช ชวศิริกุลฑล นักเรียนชั้น ม.6/5 นางสาวพิชชาพร เพชรพรหม นักเรียนชั้น ม.6/5 นางสาวจิรัชญา ศรีใหม่ นักเรียนชั้น ม.6/9  และมี ดร.อรวรรณ ปิยะบุญ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ในรูปแบบโปสเตอร์ ได้แก่

โครงงานเรื่อง “The development of microfluidic paper-based device for simultaneous triglyceride and glucose detection” นำเสนอโดย นายล้ำตะวัน พยัพตรี นักเรียนชั้น ม.6/2 และ นางสาวพิชญ์ณิยา สิทธิฤทธิ์กวิน นักเรียนชั้น ม.6/2  โดยมี ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาเคมี และ ดร.สุดเขต ไชโย จาก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

ธัญนันท์ สมนาม (ข้อมูล/ภาพ)
ศูนย์พัฒนาสื่อดิจิทัล (เรียบเรียง)

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save